วันอาทิตย์ที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2558

6 เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาที่ควรรู้ในปี 2015



               6 Ed Tech Tools to Try in 2015  ถูกรวบรวมโดย Jennifer Gonzalez ซึ่งนับว่าเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่ยังไม่แพร่หลายนักในการจัดการเรียนการสอนของเมืองไทย ในวันนี้ผู้เขียนจึงหยิบยกบทความของ Jennifer Gonzalez มาขยายให้คุณครูทุกท่านได้รู้จักเทคโนโลยีเหล่านี้ ซึ่งเทคโนโลยีเเต่ละตัวมีความน่าสนใจและรูปแบบการใช้งานที่หลากหลายเเตกต่างกันออกไป เเละการใช้งานนั้นต้องอาศัยทักษะด้านเทคโนโลยีเป็นอย่างสูงผู้ใช้งานหรือคุณครูจึงต้องหมั่นเรียนรู้ เปลี่ยนตัวเองให้เป็น Tech Savvy เเละฝึกฝนอยู่เสมอเพื่อให้ทันต่อการพัฒนาการศึกษาในยุคโลกไร้พรมแดน




เพื่อไม่เป็นการเสียเวลาเรามารู้จักความสามารถของเทคโนโลยีเเต่ละตัวกันเลยค่าาาาาา
6 Ed Tech Tools to Try in 2015  by Jennifer Gonzalez




             1. Paper li

           Paper.li เป็นเว็บไซต์ที่ให้ผู้ใช้บริการได้ออกแบบสร้างหน้าเพจของตัวเอง เพื่อนำเสนอข้อมูล รูปภาพ วีดีโอ เเละสามารถให้ผู้ใช้งานรายอื่นๆ เข้ามาเยี่ยมชมเเละแสดงความคิดเห็นได้อีกด้วย ผู้ใช้บริการของ Paper.li สามารถลงชื่อเข้าใช้เว็บไซต์นี้ผ่านช่องทางโซเชี่ยลมีเดีย Facebook Twitter Email 
          การสร้างหน้าเพจของ Paper.li  นั้นมีลักษณะคล้ายกับการสร้างหนังสือพิมพ์ออนไลน์ มีรูปแบบหน้า (template) ที่ผู้ใช้สมารถปรับเเต่งได้ตามความต้องการ เเละยิ่งไปกว่านั้น Paper.li  หรือหนังสือพิมพ์ออนไลน์ยังง่ายต่อการนำเสนอเนื้อหาเนื่องจากมีแหล่งที่มาของข้อมูลให้ input เข้ามาใช้งานหลายช่องทางอาทิเช่น hashtag จาก Twitter เนื้อหาจากเว็บบล็อกต่างๆ รูปภาพ วีดีโอจาก youtube เพียงเเค่ใส่คำค้นหาลงไปเเหล่งข้อมูลต่างๆก็จะปรากฏณ์ขึ้นให้ผู้ใช้บริการเลือกนำเข้ามาใช้งานในหน้าหนังสือพิมพ์ที่ตนเองสร้าง    หลังจากที่ทราบสรรพคุณของ Paper.li  กันเเล้วเรามาชมวีดีโอสาธิตการใช้งานกันเลยยยย


    


Link ===> paper.li

          2. emaze 



               emaze เป็นเว็บไซต์ในการสร้างสื่อการนำเสนอในรูปแบบ power point ที่น่าสนใจกว่าโปรแกรมแบบดั้งเดิม โดยความสามารถของ emaze นั้นจะทำให้การสร้างงานนำเสนอของคุณมีลักษณะสมจริงคล้ายกับภาพยนตร์ อาทิเช่น การซูมเข้า ซูมออก การเคลื่อนที่ของภาพเเละวัตถุในสไลด์โชว์ เรียกได้ว่าเป็นการสร้างงานนำเสนอในรูปแบบ 3 มิติที่ง่ายต่อการสร้างชิ้นงานเพราะ emaze มี template ในหมวดหมู่ที่หลากหลายให้ผู้ใช้บริการได้เลือกนำมาสร้างชิ้นงาน เเละยังสามารถแแทรกรูปภาพจากแหล่งข้อมูลของผู้ใช้งานลงไปได้อีกด้วย




Link ===> emaze

         3. voxer


            voxer เป็นแอปพลิเคชั่นที่ให้ผู้ใช้งานเปลี่ยนสมาร์ทโฟนเป็นวิทยุสื่อสาร ที่ผู้ใช้บริการสามารถส่งข้อความเสียง รูปภาพ ระบุสถานที่ สามารถตอบโต้ผู้ใช้บริการรายอื่นได้คล้ายๆกับ Line application ครูผู้สอนสามารถนำมาประยุกต์ใช้จัดการเรียนการสอนในชั้นเรียนได้โดยการสร้างกลุ่มรวบรวมผู้ใช้เป็นชั้นเรียนของรายวิชานั้นๆ เเละ สมารถติดต่อกับนักเรียนในชั้นเรียนที่ไม่ได้มานั่งเรียนในห้อง เเต่ใช้เทคโนโลยีชนิดนี้เรียนร่วมกันกับเพื่อน่วมชั้นเรียนคนอื่นโดย การเรียนผ่านวิธีการเช่นนี้จะทำให้นักเรียนสมารถถามคำถามที่ไม่เข้าใจหรือร่วมฟังบรรยายกับนักเรียนคนอื่นได้




Link ===> voxer

    4. QR code





ตัวอย่างการนำไปใช้ในชั้นเรียน







Link ===> QR Code Generator

    

 5. Kaizena

     Kaizena เว็บไซต์ที่จะช่วยคุณครูทุกท่านตรวจงานเขียนหรือการบ้านของนักเรียนง่ายยิ่งขึ้นโดย Kaizena จะเชื่อมต่อกับ google drive ซึ่งสามารถนำเข้าเอกสารมาตรวจและให้คำเเนะนำ หรือ feedback กลับไปยังผู้เรียน ด้วยการใส่ข้อความเสียงของคุณครู หรือเเสดงความคิดเห็นในรูปแบบตัวอักษรเเนบลงไปในชิ้นงานนั้นๆเพื่อนให้ผู้เรียนได้นำข้อผิดพลาดหรือคำเเนะนำนั้นไปปรับปรุงหรือแก้ไขชิ้นงาน ข้อดีของการใช้ Kaizena ในการตรวจงานนั้นคือ การมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีระหว่างการเรียนรู้การส่งงานของครูกับนักเรียน เเละการที่ผู้เรียนสามารถที่จะได้รับการตอบสนองจากครูได้อย่างละเอียด รวดเร็วซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาในเรื่องเวลา สถานที่ ในการส่งชิ้นงาน เพียงเเค่ครูเเละนักเรียนสามารถใช้อินเทอร์เน็ต การเรียนการสอนเเละการส่งการบ้านบ้านก็จะไม่เป็นเรื่องยากอีกต่อไป




Link ===> kaizena

      

    6. plicker


plicker เป็นเครื่องมือในการวัดการตอบสนองของนักเรียนผ่านเทคโนโลยีของแอปพลิเคชัน plicker มีขั้นตอนการทำงานคล้ายคลึงกับ QR Code คือมีรหัสภาพมาเป็นตัวกำหนดของข้อมูล จากนั้นต้องผ่านกระบวนการสแกนเพื่อรับภาพมาประมวลผลจึงจะสามารถแปลค่าความหมายของรหัสภาพออกมาได้ โดยรหัสภาพเเต่ละภาพจะถูกสร้างลักษณะหรือ code เเตกต่างกัน เพื่อเเยกรหัสให้เป็นของนักเรียนเเต่ละบุคคลซึ่งจะทำให้การประเมินผลสามารถเเสดงข้อมูลคำตอบตามที่นักเรียนเเต่ละคนเลือก 
รหัสภาพของ plicker ประกอบด้วย ตัวอักษร A B C D ในเเต่ละด้าน เเละตัวเลขที่เป็นรหัสของนักเรียน โดยครูจะต้องสร้างคำถามและรหัสภาพให้นักเรียนเเต่ละคน ผ่านทางเว็บไซต์ plicker จากนั้นนำรหัสภาพที่ได้พิมพ์ออกมาในกระดาษ เเละแจกให้นักเรียนเเต่ละคนตามรหัสที่ได้บันทึกข้อมูลไว้ ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่อยู่ด้านบนของบัตร เเละเริ่มสแกนจับคำตอบในคำถามเเต่ละข้อ plicker จะประเมินผลคำตอบของนักเรียนว่ามีนักเรียนคนใดตอบข้อใดและใครถูกต้องบ้างซึ่งผลการประเมินจะเเสดงออกมาในรูปแบบกราฟแท่ง ทำให้ง่ายต่อการวัดการตอบสนองของนักเรียนเเละสร้างบรรยากาศทางการเรียนรู้ที่สนุกสนานเเละน่าสนใจให้เกิดขึ้นในชั้นเรียนอีกด้วย 




ข้อควรระวัง ครูต้องให้นักเรียนถือรหัสภาพให้ชัดเจน ไม่เอียง ไม่ให้มีสิ่งอื่นมาบดบัง เพื่อให้การประมวลผลถูกต้อง

Link ===> plicker

 ผู้เขียนเองหวังว่าเทคโนโลยีเเต่ชนิดจะเป็นส่วนช่วยในการจัดการเรียนการสอนของคุณครูทุกท่านให้ประสบความสำเร็จ อย่างไรก็ตามการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้งานต้องคำนึงถึงบริบทรอบตัวของผู้เรียนเเละประโยชน์สูงสุดที่จะเกิดขึ้นด้วย เพราะท้ายที่สุดเรามิได้ทำเพื่อให้การสอนเป็นเรื่องสนุกแต่เราทำเพื่อการเรียนรู้ของนักเรียน 

ด้วยรัก
PPwarin

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น